top of page
Ratchakorn Wetworanan

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน


การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based learning : GBL)

.

แอดมินได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based learning : GBL) เองแหละ แต่แอดได้ประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) เข้าไปด้วย

.

ตู้มมมม กลายเป็น

.

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based inquiry) ซึ่งมันก็ยังคงคอนเซ็ปท์ของ GBL อยู่นั่นแหละ

.

แอดได้ออกแบบเกมการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการสอนจริงในห้องเรียน ซึ่งแอดได้ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ GBL มาระยะหนึ่งแล้วพบว่า ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้แบบ GBL ไม่ได้ตายตัวเลยนะ เช่น งานวิจัยของ Garris et al. (2002) ที่พัฒนาแบบจำลองของ GBL ที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

.

1. การรับข้อมูล (Input)

คือการนำข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ กับรูปแบบของเกมที่นำมาใช้ คือต้องสอนให้ในนักเรียนเข้าใจกลไกของเกมด้วย

.

2. กระบวนการทำงาน (Process)

เป็นส่วนที่นำเสนอเกี่ยวกับวงจรของเกม (Game cycle) ประกออบด้วย การตัดสินใจ (Judgement) ซึ่งนำไปสู่การเกิดพฤติกรรม (Behavior) ที่ตัวเกมต้องการให้เกิด และจะเกิดการตอบสนองของระบบเกม (System feedback) ซึ่งผู้เล่นจะวนเวียนในวงจรนี้จนในที่สุดผู้เล่นจะเกิดการตั้งคำถาม (Debriefing) และนำไปสู่การตอบคำถามซึ่งเป็นผลลัพธ์ในขั้นต่อไป

.

3. ผลลัพธ์ (Outcome)

คือผลที่ได้จากการเล่นเกมซึ่งมาจากการตอบคำถามที่ผู้เล่นเกิดขึ้นในขณะเล่นเกมในขั้นก่อนหน้านี้ ทำให้ได้เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning outcomes)

.

นี่เป็นเพียงแบบจำลองของ GBL เริ่มต้นเท่านั้น จริง ๆ ยังคงมีอีกหลายแบบเลยแหละ

.

คุณครูลองนำไปปรับใช้ดูนะครับ

.

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะสงสัยสินะครับว่า แล้วจะออกแบบเกมอย่างไรให้ได้เป็นเกมการเรียนรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง แล้วทำให้นักเรียนเกิด ผลลัพธ์การเรียนรู้ ออกกมาจริง ๆ

.

แนะนำให้ไปอ่านดูในโพสต์นี้นะครับ กระดุม 5 เม็ดของการออกแบบบอร์ดเกมการเรียนรู้ https://www.facebook.com/.../a.411357.../475897963225815/...

.

ผลหลังการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน พบว่านักเรียนมีความสุขและสนุกในการชีววิทยาอย่างมาก สังเกตได้จากที่นักเรียกมีความกระตือรือร้น และอยากเรียนชีววิทยา แม้ว่าเนื้อหาเรื่องนั้นจะเป็นเนื้อหาที่ยากและบางเนื้อหาก็มีรายละเอียดเยอะ

.

ความสนุก: ★★★★★

การใช้ซ้ำ: ★★★★

การตอบรับของนักเรียน: ★★★★

ความเหมาะสมต่อเนื้อหา: ★★★

.

ฝากกดติดตามเพจ Boss Lab Board Game กด See first นะครับ จะได้เห็นทุกข่าวสารที่เรามอบให้

.

ดู 3,522 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page