top of page
Ratchakorn Wetworanan

การเรียนรู้ผ่านเกม vs การบรรยาย


วันนี้แอดบอสจะมาพูดถึง "การเรียนรู้ผ่านเกม" กับ "การเรียนรู้ผ่านการบรรยาย"

.

ผ่านมุมมองถึงข้อดี ข้อเสีย และประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกใช้การจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 แบบนะครับ

.

"การเรียนรู้ผ่านการบรรยาย"

.

เราโตมากับการเรียนแบบคุณครูพูด ส่วนเรา ๆ ก็หูฟัง ตาดู มือจด สมองจำ สูตรสำเร็จจากการเรียนแบบ Teacher center คือคุณครูเป็นจุดศูนย์กลางความรู้ เป็นผู้มอบความรู้แก่นักเรียน แต่นักเรียนไม่ใช่ผู้ค้นพบความรู้จึงเกิดปัญหาที่ทำให้นักเรียนได้แค่จำ แต่ไม่เข้าใจ!!!

.

จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ถูกเสียทีเดียว การเรียนรู้ผ่านการบรรยาย จะช่วยไขข้อสงสัยในสิ่งที่ยากต่อการลงมือปฏิบัติหรือยากต่อการทดลอง ด้วยเงื่อนไขจำกัดหลายอย่างทำให้การบรรยายเป็นทางออกที่ง่ายในการจัดการเรียนรู้ และยังเป็นส่วนที่ช่วยไขข้อสงสัยที่ยากให้กระจ่างผ่านความเข้าใจของครูผู้สอน

.

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ผ่านการบรรยายก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย แต่ถ้ามองภาพรวมการบอกเล่าความรู้ในยุคปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อลักษณะความอยากรู้อยากเห็นในโลกอินเทอร์เน็ตที่เด็ก ๆ เข้าถึงความรู้ได้อย่างง่ายดายผ่านปลายนิ้วสัมผัส ดังนั้นการสอนแบบบรรยายอาจไม่ตอบโจทย์ต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การสอนในรูปแบบอื่น ๆ อาจจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านการสร้างองค์ความรู้ขณะทำกิจกรรม เป็นการเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student center) โดยที่ครูผู้สอนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนคิด เป็น Active learning มากกว่า Passive learning ซึ่งสามารถสร้างและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคต

.

.

"การเรียนรู้ผ่านเกม"

.

ตัวเลือกหนึ่งของรูปแบบที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการใช้เกมมาเป็นสื่อกลางในการกระตุ้น การสอน หรือการสรุป จะช่วยให้นักเรียนเกิดความท้าทายในการเรียน รวมไปถึงเป็นการพัฒนาความคิดในการแก้ไขปัญหาผ่านเงื่อนไขที่จำกัดในเกม เป็นการเรียนรู้ที่นักเรียนจะต้อง Active อยู่ตลอดเวลา

.

ปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ครับว่าเกมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่คู่สังคมมาเนิ่นนาน และผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากก็หนีไม่พ้น "วัยเด็ก" และ "วัยรุ่น" เสียส่วนใหญ่ ดังนั้นแล้วการนำเกมมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้จึงมักถูกใช้ผ่านมุมมองที่ว่า นำมาเพื่อ "กระตุ้นความสนใจของนักเรียน" ทำให้สามารถจัดการเรียนรู้หลังการเล่นเกมแล้วเด็ก ๆ จะไม่เบื่อ หรือจะเป็นเพราะอันใดก็แล้วแต่

.

แชร์ประสบการณ์ครับ ในประเทศไทยการใช้เกมการเรียนรู้มีมานานแล้วครับ จากที่เห็น ๆ กันอยู่เต็มท้องตลาดก็คงหนีไม่พ้นแพลตฟอร์มอย่าง "เกมเศรษฐี" "เกมบรรไดงู" "เกมโดมิโน" และ "เกมบิงโก" ที่นำวิธีการเล่นของเกมเหล่านี้มาจับยัดใส่เนื้อหาที่เป็นวิชาการ เพื่อมุ่งหวังให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านเกม โดยเกมเหล่านี้ผมมองว่ากลไกจะช่วยให้นักเรียนเกิดการจดจำได้มากขึ้น แต่อาจจะไม่ไปถึงเกมที่เล่นแล้วมีความเข้าใจเนื้อหาโดยการเล่นเกมเพียงเท่านั้น

.

จากที่ลองทำกิจกรรมในรูปแบบเกมในชั้นเรียนมา พบว่าเกมที่ใช้กระตุ้นความสนใจและใช้สรุปเนื้อหาจะทำได้ไม่ยาก โดยเลือกเนื้อหามาเรื่องหนึ่ง แล้วใส่กลไกวิธีเล่นของเกมทั่วไปโดยไม่จำเป็นว่ากลไกของเกมจะมีความหมายสอดคล้องกับเนื้อหา เช่น บิงโกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดมิโนห่วงโซ่อาหาร เป็นต้น

.

ที่ผมกล่าวไว้ว่ากลไกของเกมไม่ได้สอดคล้องกับเนื้อหา เช่น เกมบิงโกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลไกการเล่นคือบนแผ่นบิงโกมีชื่อสัตว์หรือรูปสัตว์ที่ติดไว้แล้ว ครูก็หยิบชื่อสัตว์ขึ้นมา แล้วนักเรียนที่มีชื่อสัตว์ที่ตรงกับที่ครูหยิบก็นำเอาฝาเบียร์ไปวางทับช่องนั้นไว้

.

คำถามคือ?

.

เด็ก ๆ ได้เข้าใจหรือไม่ว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอย่างไร ? มีลักษณะแบบไหน ? ต่างจากสัตว์กลุ่มอื่นอย่างไร ?

.

จากที่กล่าวมาเกมบิงโกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจึงเป็นได้แค่ "เกมทบทวนความรู้" แต่ไปไม่ถึงเกมที่ใช้สอนในคาบเรียนโดยที่ครูไม่ต้องบรรยาย

.

ไม่ใช่ว่าเกมบิงโกทำให้นักเรียนมีความเข้าในเนื้อหาหรือใช้สอนแทนการบรรยายไม่ได้ แต่หากว่าเพิ่มกลไกอื่น ๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาก็อาจจะใช้สอนได้เช่นกัน

.

ไม่ว่าเป็นการเรียนรู้แบบไหนก็ย่อมมีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป อย่างการใช้เกมเพื่อการเรียนรู้ข้อเสียก็มีคือการเล่นเกมที่จำกัดผู้เล่น ทำให้คุณครูจะต้องเตรียมหลายชุดและเวลาก็จำกัด แต่ข้อดีก็มีมากมายเช่นกันครับ เพราะการเล่นบอร์ดเกมการเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนปล่อยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้วหันมาใส่ใจคนรอบข้างมากขึ้น รู้สึกถึงความเป็นคน สร้างสังคมการเรียนรู้ที่มองตาไม่ใช่มองจอ รวมถึงยังพัฒนาทักษะกระบวนการในการคิดวิเคราะห์ การคิดแบบเป็นระบบ พัฒนาทักษะการตัดสินใจและการให้เหตุผล และอื่น ๆ อีกมากมาย

.

.

ทั้งนี้การใช้เกมในการเรียนรู้คุณครูหรือผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาและลองสร้างเกมการเรียนรู้ขึ้นมา แล้วมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ สิ่งสำคัญคือ "การทดลองเล่น (Play test)" หากทดลองเล่นแล้วพบเจอปัญหาอย่างไร ก็สามารถมาแชร์กันได้ครับ แอดมินจะเข้าไปตอบให้ครับ รวมถึงพี่ ๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเกมก็สามารถแวะเวียนมาให้ความรู้ความเข้าใจในการออกแบบเกมได้นะครับ

.

.

ดู 421 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page